February 27, 2007

Meshing game

เอามาจาก CAE class ล่ะ
เป็น class เกี่ยวกับ Mesh generation
Mesh generation คือการแบ่งส่วน object หรือ domain ที่เรามีเป็นชิ้นเล็กๆ
มีประโยชน์ต่อการคำนวณพวก simulation ต่างบนคอมพิวเตอร์
เพราะแทนที่จะต้องแก้ปัญหาชิ้นใหญ่ที่ซับซ้อน
เราก็แบ่งปัญหาใหญ่ๆนั้นเป็นชิ้นเล็กๆที่ง่ายต่อการแก้ปัญหามากขึ้น


อ่ะ ทีนี้ก็มาถึง game ของเรา Photobucket - Video and Image Hosting
เราต้องการแบ่งเจ้าชิ้นส่วนที่กำหนดให้
ให้เป็นชิ้นส่วนเล็กๆที่มีรูปร่างเหมือนกัน และขนาดเท่าๆกัน

ตัวอย่างเช่น ถ้าแบ่งชิ้นส่วนแรกนี้เป็นสองส่วนเท่าๆกัน
คือทั้งสองส่วนต้องมีรูปร่างเหมือนกันและมีขนาดเท่ากัน ก็จะได้




ถ้าแบ่งชิ้นส่วนเดียวกันนี้เป็นสามส่วนเท่าๆกัน ก็จะได้




ทีนี้ คำถามของเราคือ ถ้าให้แบ่งเป็นสี่ส่วนเท่าๆกันล่ะ
เราให้เวลาสองนาทีนะ :D ลองคิดดู
ครบสองนาทีแล้ว click ที่ Link ข้างล่างเพื่อดูเฉลยนะ
ถ้ายังอยากได้เวลาเพิ่ม ก็ปิดเฉลยไว้อย่าเพิ่งดูแล้วกัน :)



...

5

4

3

2

1


เฉลย~~ ^_^


เป็นงายยย ตอบได้กันป่าวว ?? :D
หรือง่ายเกินไป??? hehe
ถ้าง่ายเกินไป งั้นลองอันนี้อีกอันแล้วกันนะ :)

คราวนี้ให้แบ่งเป็นห้าส่วนเท่าๆกัน
ให้เวลาสองนาทีเท่าเดิม :)
ครบเวลาแล้ว click ที่ Link ข้างล่างเพื่อดูเฉลยเลยจ้า :)



......

....

...

..

เฉลย~~~ ^___^



Hehehe เป็นไงกันบ้างงง :D
อาจารย์เราบอกว่าเค้าได้ปัญหานี้มาจากเพื่อนที่เป็นนักจิตวิทยา..
อาจารย์จะถามปัญหานี้ใน class ทุกปีเลย..
ปกติก็จะมีนักเรียนสองสามคนที่ตอบข้อแรกได้
แต่ปีนี้ไม่มีเลย ^^; (ยกเว้นเรา แต่เรารู้คำตอบอยู่แล้วอ่ะ)
ส่วนข้อสองเนี่ย.. ปีนี้คนตอบได้ประมาณครึ่งห้อง
แต่คนที่ตอบไม่ได้เนี่ย..
เป็นเด็กที่ทำวิจัยด้าน mesh generation ซะหลายคนเลย :P hehe

ข้อแรกเป็นข้อที่ต้องใช้ความคิดมากทีเดียว คำตอบก็ดูซับซ้อน
เพราะชิ้นส่วนเล็กๆที่ประกอบเป็นชิ้นส่วนใหญ่ มันเป็นรูปที่มีหลายเหลี่ยมมุม
แล้วก็วางอยู่ใน orientation ที่ต่างๆกัน
นักเรียนส่วนมากจะคิดไม่ออกในระยะเวลาจำกัด
พออาจารย์เฉลยข้อแรกนี้ แล้วให้คำถามข้อที่สอง
นักเรียนส่วนใหญ่ ก็จะยังมองปัญหาใหม่นี้ว่าคำตอบคงจะซับซ้อนเหมือนข้อแรก
แล้วก็พยายามที่จะแบ่งชิ้นส่่วนเป็นรูปร่างประหลาดๆ
ทั้งที่จริงๆแล้วคำตอบมันง่ายนิดเดียวเอง :P
จริงๆ ถ้าอาจารย์ถามคำถามที่สองนี้ก่อนคำถามแรก ทุกคนก็คงตอบได้หมด :)

ที่ขำก็คือตอนอาจารย์ให้โจทย์ข้อสอง
ระหว่างที่นักเรียนกำลังนั่งคิด ก็จะมีเสียงร้องมาจากนักเรียนคนที่คิดออกเป็นระยะๆ
ประมาณ โอ้วๆ อู้วๆ.. แบบว่าทำไมแค่นี้ชั้นต้องเสียเวลาคิดตั้งนานเนี่ย :P
ไอ้คนที่ยังคิดไม่ได้ ได้ยินเสียงก็ยิ่งกดดันเข้าไปใหญ่ :P

กับดักทางความคิดนี่น่ากลัวจริงๆ
อาจารย์เราบอกว่า ปัญหาเดียวกันเนี่ย..
บางคนที่เป็นพวก deep thinker ใช้เวลาคิดเป็นสิบๆชั่วโมงเลย ^^;

6 comments:

  1. ัyaaah, I did it.
    เวลาเท่าไหร่แล้วอะไม่ได้จับ แต่ เราเสียเวลาอ่านด้วยนะ
    รู้สึกว่า รูปแรกเกือบสิบชั่วโมงเลยอะ ล้อเล่น
    นอกเรื่องหน่อยซิ deep thinker เนี้ย ภาษาไทยแปลว่า พวกคิดลึกรึเปล่าอะ ล้อเล่น
    รูปแรก เราทำรูปสี่เหลี่ยมทั้งสามรูป แบ่งสี่ส่วนทุกรูปเลยแล้วจะ(เหมือนเอาสี่หารอะ) ผิดป่ะยังไม่ได้ดูเฉลยเลยอะ
    รูปที่สองนี้ สี่เหลี่ยมห้ารูป ถ้าจะพับก็พับ ครึ่งห้าครั้งอะ
    แต่ยังไม่ได้ดูเฉลยเลยละ หนามรีบไปทำงานก่อนละ เมื่อเช้าพึ่งโดนเจ้านายเตือน เรื่องเดินไปกินขนมไป กับ ผมไม่ยอมตัด ตอนนี้ เราอู้งานอีกแล้ว ดูมัน

    ReplyDelete
  2. คุณอ้อม

    เพลงคุณอ้อมอยู่ใน blog ของผมที่ http://gotoknow.org/blog/kmait ครับ ขอบคุณที่เอื้อเฟื้อให้คนได้ฟังเพลงเยอะ ๆ :>

    ขอเอาปัญหาไปเล่นบ้างนะครับ สนุกดี การเรียงลำดับคำถามมีผลต่อการตัดสินใจจริง ๆ

    ReplyDelete
  3. ติดกับดัก แต่หลุดออกมาได้ ฮ่าๆ

    แต่ว่าอันแบ่ง 4 นี่คิดไม่ออกจริงๆแหละ ดูเฉลยแล้ว อืม เราคงคิดไม่ออกเองแหละ

    แต่ 5 ส่วนเนี่ย ทีแรกก็คิดว่าต้องออกเป็นแนวสามเหลี่ยมแน่เลย - -' ต้องเอาออกมาเขียนในกระดาษแล้วเขียนกำกับไว้ว่า 5 ส่วน (เอาเฉพาะโจทย์ ไม่ต้องเอา context อื่นมา) ถ้ามองแต่ที่เราเขียนไว้แยกออกมา มันก็จะคิดออกเอง เพราะไม่ได้คิดถึงอันก่อนๆ

    ReplyDelete
  4. คุณหนาม:
    deep thinker = คิดลึกจริงๆค่ะ ^^; :P
    อ้อมคิดว่า คนพวกนี้เป็นพวกยิ่งคิด ความคิดยิ่งแตกแขนงลึกลงไปเรื่อยๆน่ะค่ะ
    จริงๆก็ไม่ใช่ไม่ดีนะคะ
    แต่ในบางกรณีถ้าได้ถอยหลังกลับมาดูภาพใหญ่รวมๆซักนิด
    ก็อาจจะเห็นทางแก้ปัญหาได้ชัดกว่าน่ะค่ะ :)


    คุณ sophon:
    อ้อมแอบไปดู blog มาแล้วค่ะ :)
    เห็นว่าทำ PhD อยู่เหมือนกัน สู้ๆนะคะ :)
    ส่วนปัญหานี้เอาไปถามเล่นได้ตามสบายเลยค่ะ :)


    Namtarn:
    เก่งจริงนะตัวแค่เนี้ย :P hehe
    อืมจริงด้วยเนอะ น่าสนใจ
    ถ้าเขียนโจทย์แยกมาต่างหาก ก็คงช่วย clear ภาพปัญหาเก่าไปได้มากจริงๆด้วย :)


    จริงๆตอนเขียน blog นี้ เราก็แอบคิดอยู่เหมือนกันนะ
    ว่ามาเขียนปัญหาบน blog อย่างงี้ บรรยากาศก็ไม่เหมือนตอนอาจารย์ถามในห้องเรียนเท่าไหร่
    ตอนอยู่ในห้องเรียนนี่อาจารย์เขียนรูปต่อๆกันมาเลย
    แล้วเวลาอาจารย์ให้คิด ก็ต้องคิดจริงๆ แบบเบี้ยวไม่ได้เพราะอาจารย์ดูอยู่ :P
    ไม่เหมือนบน blog คิดนิดเดียวก็เบี้ยวแอบดูเฉลยได้เลย

    ทีนี้ถ้าไม่ได้ผ่านกระบวนการที่ต้องคิดอย่างยากเย็นในข้อแรกมาก่อน
    ก็อาจจะทำให้ไม่ตกหลุมข้อสองได้ง่ายๆนะเราว่า

    ReplyDelete
  5. หวัดดีค่ะ
    เพิ่งเคยเข้า blog คุณอ้อมเป็นครั้งแรกนะคะ
    search จากคำว่า พูห์ กับ พิกเลต
    ชมมาเรื่อยๆ จนถึงเกมนี้อ่ะค่ะ
    ชอบทุกๆ post ใน blog นี้เลยนะคะ

    ReplyDelete
  6. ดีใจค่ะที่มีคนชอบและเห็นประโยชน์จากสิ่งที่อ้อมโพสต์
    ^__^

    ReplyDelete