กลับมาคราวนี้เราตั้งใจว่าจะถือศีลแปดอาทิตย์ละวัน..
เราเลยไปหาข้อมูลเรื่องศีลมารวบรวมไว้นะ..
note:
ข้อความข้างล่างนี้เรารวบรวม+สรุปมาจากเนื้อหาที่พี่โจโจ้แนะนำเรื่องศีลไว้
จากกระทู้ในลานธรรมหลายๆกระทู้ตามlinkข้างล่างนะ
"ศีล 8 มีอะไรบ้าง ใครทราบช่วยบอก หน่อยนะค่ะ"
"อยากรู้ว่าทำไมต้องมีศีล"
"ทางพ้นทุกข์ในความเข้าใจของข้าพเจ้า ช่วยแก้ไขด้วยค่ะ"
-: เป้าหมายของศีล :-
ทำไมต้องมีศีล?
ก็เพื่อเป็นกรอบเพื่อทำให้จิตสงบ เป็นฐานของสมาธิ(ความนิ่ง)
แล้วจะได้มองเห็นสิ่งต่างๆทั้งนอกและในจิตได้ชัดกว่าเมื่อไม่มีสมาธิ
ถ้าไม่มีศีลแล้วเราจะไม่มีความสุขหรือ?
คงต้องลองถามตัวเองดู ว่าจะมีสักกี่คนที่ชอบอยู่อย่างตื่นเต้น ต้องคอยหลบเจ้าหนี้ชีวิตที่คอยตามทวง เจ้าหนี้สิ่งของที่ไปเอาของเขามา เจ้าหนี้ทางกามที่แอบไปเสพกามกับคู่เขา เจ้าหนี้ทางวาจาที่ไปโกหกหลอกลวงเขาไว้ และสุดท้าย เจ้าหนี้ที่แค่จำยังจำไม่ได้เลย ว่าไปละเมิดเขาไว้ตอนไหน ซึ่งอันที่จริงเพราะกระทำระหว่างที่กำลังเมานั่นเอง
ชีวิตคนเราทุกคนนี้ สามารถแสวงหาความสุขจากการไปสร้างหนี้ได้หรือ
ความสงบหรือความมีหนี้ดีกว่ากัน?
ความสุขที่มากที่สุด คือความปราศจากทุกข์
เพื่อให้พ้นทุกข์ แนวทางปฏิบัติในทางพุทธนั้นคือ ทำทาน รักษาศีล และภาวนา

จะภาวนาได้ จิตต้องเป็นสมาธิ (นิ่ง) เสียก่อน ถ้าจิตยังสั่นไหวเพราะยังมีหนี้ที่ยังไม่ได้ชำระ สั่นไหวเพราะกลัวเจ้าหนี้จะมาตามทวง หรือสั่นไหวด้วยความฟุ้งซ่านต้องการเสพรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จิตนั้นจะไม่สามารถภาวนาให้เกิดความก้าวหน้าได้
อันเปรียบเหมือนคนที่ยืนเฉยๆยังไม่มั่นคง ก็ไม่ต้องหวังว่าจะวิ่ง เต้นรำหรือเล่นเสก็ตได้

และการทำทานคือการสละนั้น ยังให้ผลในการอบรมจิตให้รู้จักการสละละทิ้งซึ่งการยึดเกาะกับอารมณ์ใดๆ เช่นสละอารมณ์โกรธหรือพยาบาทคน สละอารมณ์ใคร่อารมณ์อยาก สละละทิ้งการยึดมั่นในรูปธรรมหรือนามธรรมใดๆ

ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาแห่งเหตุและผล ไม่ใช่จะห้ามหรือกำกับว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้โดยไม่มีเหตุผล
พระศาสดาไม่เคยห้ามฆ่าสัตว์ ไม่เคยห้ามลักทรัพย์ ฯลฯ แต่อย่างใด แต่ท่านสอนว่า
ปาณาติปาตาเวรมณี -- การละเว้นการตัดชีวิตสัตว์
สิกขา -- เมื่อปฏิบัติแล้ว
ปทัง -- รักษาไว้ซึ่ง
สมาธิยามิ -- ความนิ่งของจิต
ศีลทุกข้อ คือการละเว้น มีรูปประโยคเหมือนกันหมดคือ การละเว้น .... เมื่อปฏิบัติแล้ว จะรักษาไว้ซึ่งความนิ่ง
ศีล ไม่ได้มีไว้ให้เครียด แต่ไว้เพื่อสนับสนุนการภาวนา และการละเมิดศีล ไม่ว่ากรณีใด มีผลกับจิตโดยภาพรวมคือ ทำให้จิตไม่สงบ ซึ่งมีระดับของความไม่สงบสองชนิดดังที่กล่าวมาคือ อย่างเบาคือฟุ้งซ่าน อย่างหนักคือมีหนี้ ซึ่งก็คือไม่สงบเหมือนกัน
(comment: ในความเข้าใจของเรา
ศีลห้าเป็นศีลที่คนทุกคนควรถือเป็นกรอบปฏิบัติเพื่อไม่ละเมิดใจใคร
ถ้าทำผิดศีลห้าแบบเต็มๆ ผลที่ได้แน่ๆคือความไม่สงบอย่างหนักคือมีหนี้
ศีลห้าจึงเป็นศีลที่ทุกคนควรถือปฏิบัติให้เป็นปกติ
ส่วนศีลแปด มีข้อที่เพิ่มมาอีกสามข้อคือละเว้นการกินยามวิกาล, ละเว้นจากการละเล่นและการใช้เครื่องประดับตกแต่งเครื่องลูบไล้ของหอม, แล้วก็ละเว้นการนอน-นั่งบนที่สูงใหญ่ฟุ่มเฟือย
ในความคิดเห็นเรา ถ้าเราละเมิดศีลสามข้อที่เพิ่มมานี้
ผลที่ได้จะทำให้เกิดความไม่สงบอย่างเบาคือฟุ้งซ่าน
ศีลแปดจึงเหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมที่ต้องการความสงบขึ้นมาอีกขั้นนึง
ถือศีลแปดเพื่อเตรียมจิตใจให้สงบเหมาะแก่การภาวนา)
ศีลนั้น กล่าวได้เป็นสองทางคือ ศีลที่เกิดเองในผู้ที่เข้าใจเหตุและผลของกฏแห่งกรรมในภาคปฏิบัติ คือผู้ที่รู้ชัดถึงผลของการละเมิดศีลเช่นเดียวกับการเอามือแตะน้ำเดือด หรือเอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟ คือรู้แน่ชัดว่าการละเมิดศีลข้อนี้ๆนั้นจะนำมาซึ่งทุกข์โดยไม่สงสัย จึงหลีกจากการละเมิดศีลเช่นเดียวกับการหลีกเลี่ยงการเดินตกท่อ ชนประตู หรือหลีกไม่เอามือไปไว้ในไฟ ผู้ที่มีศีลชนิดนี้จะรักษาศีลแม้แต่ในความฝัน เพราะรู้ชัดแล้วว่า การละเมิดศีลจะให้ผลที่ตามมาอย่างไร
ส่วนศีลที่เกิดจากการรับศีล คือรับจะรักษาศีล คือตั้งใจแน่วแน่ที่จะรักษาจิตให้อยู่ในกรอบของศีล (การสมาทานศีล) ศีลชนิดนี้เป็นข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่ยังไม่เห็นละเอียดพอ จนเกิดศีลแบบอัตโนมัติตามที่กล่าวถึงในข้อแรก ซึ่งการสมาทานหรือความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะรักษาศีลนั้น จะเป็นเหตุนำให้เกิดสมาธิ คือมุ่งสำรวจ(จิต)ตนเองอยู่เสมอว่าละเมิดศีลหรือไม่ ซึ่งอาการสำรวจตนเองนี้ เปรียบกับเด็กแรกคลอด ก็สามารถเรียกได้ว่าเป็นการตั้งไข่หรือการหัดคลานก่อนที่จะยืนได้ ที่เมื่อปฏิบัติมากขึ้น การสมาทานศีลด้วยใจจริง ด้วยความลึกซึ้ง จะเป็นฐานสำหรับการภาวนาต่อไปด้วยคือ เป็นฐานในการให้จิตมารู้(สำรวจ/วิจัย)ที่ความเป็นตัวตนเสมอๆหรือสัมปชัญญะ ถัดไป ความตั้งใจรักษาศีล ทำให้จิตเริ่มตั้งมั่นขึ้น จึงนิ่งขึ้น และที่อยู่ในศีล คือไม่ได้ละเมิดใคร ทำให้ปราศจากเจ้าหนี้ ไม่มีศัตรู จิตจึงไม่หวั่นไหว เพราะตั้งอยู่และดำเนินไปด้วยความเป็นมิตร ไม่เป็นภัยกับใคร
(เดี๋ยวมีเวลาแล้วมาสรุปต่อนะ)
No comments:
Post a Comment